ช้าง (Elephantidae)

 

ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์คือ ช้างแอฟริกาช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 82 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี ค.ศ. 1956 ซึ่งมีน้ำหนักถึง 11,000 กิโลกรัม ความสูงวัดถึงไหล่ 3.96 เมตร สูงกว่าช้างแอฟริกาเพศผู้ทั่วไปถึงหนึ่งเมตร ส่วนช้างที่มีขนาดเล็กที่สุดนั้น มีขนาดประมาณเท่ากับลูกวัวหรือหมูตัวใหญ่ ๆ เป็นสปีชีส์ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งเคยอาศัยอยู่บนเกาะครีตระหว่างสมัยไพลสโตซีน[6] จากการสังเกตการณ์ ช้างเพศผู้ที่มีสุขภาพดีนั้นไม่มีนักล่าตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าสิงโตจะล่าลูกช้างหรือช้างที่อ่อนแอบ้าง อย่างไรก็ตาม ช้างถูกคุกคามโดยการบุกรุกที่อยู่อาศัยของมนุษย์และการล่า

ช้างเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาในวัฒนธรรมเอเชียและมีกิตติศัพท์ว่ามีความจำและความฉลาดที่ดี โดยระดับสติปัญญาของมันนั้นคาดกันว่าจะเท่ากับของโลมา หรือไพรเมต เลยทีเดียว อริสโตเติล เคยกล่าวไว้ว่า ช้างเป็น “สัตว์ซึ่งเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวงทั้งในด้านไหวพริบและจิตใจ”

CD:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87

สิงโตขาว (White lion)

 

สิงโตขาว  เป็นสิงโตประเภทหนึ่ง โดยที่ไม่ใช่ชนิดย่อย เป็นสิงโตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสิงโตปกติหรือชนิดย่อยต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ มีขนสัตว์ขนสีน้ำตาลอ่อนกว่าสิงโตทั่วไป จนคล้ายเป็นสีขาว ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรม โดยที่มิใช่ภาวะผิวเผือก(Albino) หากแต่เป็นภาวะที่เรียกว่า “ภาวะด่าง” (Leucism) เช่นเดียวกับเสือโคร่งขาว

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การที่สิงโตกลุ่มนี้มีสีขาว เกิดจากยีนที่ตกทอดมาจากยุคน้ำแข็ง ที่สิงโตยังมีการแพร่กระจายในทวีปเอเชียและยุโรปด้วย สิงโตที่มีขนสีขาวสามารถปรับตัวได้ดีในภาวะแวดล้อมที่มีแต่น้ำแข็ง ซึ่งในสิงโตทั่วไปก็มียีนสีขาวอันนี้ และถ้าสิงโตที่มียีนสีขาว 2 ตัวผสมพันธุ์กัน มีโอกาสที่จะเกิดเป็นลูกสิงโตขาว 1 ใน 4ปัจจุบัน สิงโตขาว เป็นสัตว์ที่ได้รับการอนุรักษ์และปกป้องสายพันธุ์จากมนุษย์ มีการก่อตั้งหน่วยงานเพื่อขยายพันธุ์และศึกษาในธรรมชาติรวมถึงสถานที่เลี้ยง และมีการส่งสิงโตขาวไปเลี้ยงตามสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ๆ ทั่วโลก เช่น สวนสัตว์ลอนดอน ในประเทศอังกฤษสวนสัตว์ฟิลาเดียเฟีย ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสิงโตขาวในสถานที่เลี้ยงเหล่านี้ ได้ตกลูกออกมาหลายตัวมากทีเดียวค่ะ

CD: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7

สิงโต (lion)

  ในการที่จะเผชิญหน้ากับสิงโตตัวอื่น แผงคอจะทำให้สิงโตดูมีขนาดใหญ่ขึ้น

สิงโต  จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย  พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี

ลักษณะ

สิงโตเป็นสัตว์ที่สูงที่สุด (สูงจรดหัวไหล่) ในวงศ์แมวและมีน้ำหนักมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเสือโคร่ง สิงโตมีกะโหลกศีรษะคล้ายกับเสือโคร่งมาก แม้ว่าบริเวณกระดูกหน้าผากจะยุบลงและแบนราบ กับหลังเบ้าตาสั้นกว่าเล็กน้อย กะโหลกศีรษะของสิงโตมีโพรงจมูกกว้างกว่าเสือโคร่ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแปรผันในของกะโหลกศีรษะของสัตว์ทั้งสองชนิด ปกติแล้วจึงมีเพียงโครงสร้างของขากรรไกรล่างเท่านั้นที่เป็นตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นสปีชีส์ใด สีขนของสิงโตจะมีตั้งแต่สีน้ำตาลอมเหลืองจางๆถึงค่อนข้างเหลือง ออกแดง หรือน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องมีสีอ่อนกว่าและพู่หางมีสีดำ ลูกสิงโตที่เกิดมาจะมีจุดลายรูปดอกกุหลาบสีน้ำตาลบนลำตัวคล้ายกับเสือดาว แม้ว่าจุดเหล่านี้จะจางหายไปเมื่อสิงโตโตเต็มวัย แต่บ่อยครั้งกลับยังสามารถพบเห็นได้จางๆบนขาและส่วนท้องโดยเฉพาะในสิงโตเพศเมีย สิงโตเป็นสมาชิกเพียงชนิดเดียวในวงศ์เสือและแมวที่แสดงความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจน และแต่ละเพศก็จะบทบาทพิเศษต่างกันไปในฝูง ในกรณีสิงโตเพศเมีย เป็นนักล่าไม่มีแผงคอหนาเป็นภาระเช่นในเพศผู้ ซึ่งดูเหมือนเป็นอุปสรรคต่อสิงโตเพศผู้ที่จะอำพรางตัวเข้าใกล้เหยื่อและสร้างความร้อนเป็นอย่างมากเมื่อต้องวิ่งไล่ติดตามเหยื่อ สีของแผงคอในสิงโตเพศผู้อยู่ระหว่างสีเหลืองอ่อนถึงดำ ปกติจะเข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่อสิงโตมีอายุมากขึ้น

CD: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%95

เสือชีตาห์ (Cheetah)

คิง ชีตาห์ (King cheetah) สายพันธุ์ที่สวยที่สุด เนื่องจากมีลายจุดเป็นขีด และมีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย
เสือชีตาห์ (อังกฤษ: Cheetah) เป็นเสือเล็กชนิดหนึ่ง เนื่องไม่สามารถส่งเสียงคำรามได้ แต่จากรูปร่างภายนอก ทำให้นิยมเรียกกันว่า เสือชีตาห์ เสือชีตาห์มีที่อยู่อาศัยในทุ่งหญ้าสะวันนา เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วมากวิ่งได้เร็วประมาณ 110-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นสัตว์บกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก[2] เป็นผลมาจากความสามารถในการโค้งงอของกระดูกสันหลังในการเคลื่อนที่และเมื่อพุ่งตัวกระดูกสันหลังจะเหยียดออก ปัจจุบันเสือชีตาห์ลดจำนวนลงในทวีปเอเชียเหลืออยู่แค่ในอิหร่านไม่เกิน 20 ตัว ส่วนในแอฟริกาประมาณการว่าเหลืออยู่ราว 4,000 ตัวเท่านั้นเสือชีตาห์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acinonyx jubatus และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Acinonyx ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์จนถึงปัจจุบัน [3]
เป็นเสือรูปร่างเพรียว ขนาดเล็กกว่าเสือดาวเล็กน้อย ขาขาว ขนหยาบ สีเขียวอ่อนอ่อน จนถึงสีเขียวอมแดง ตามลำตัวมีลายจุดเป็นสีดำ ปลายหางหนึ่งในสามมีวงแหวนสีดำ ปลายสุดสีขาว มีเส้นสีดำจากใต้หัวตามาที่มุมปากทั้งสองข้าง หูเล็กกลม ขนท้ายทอยยาวและตั้งขึ้นเป็นแผง คอสั้น สายพันธุ์ที่มาจากโรเซียมีดวงตามตัวติดกันเป็นแถบสีดำยาวเรียก “King cheetah” คาดว่าเป็นการผ่าเหล่าของพันธุ์แท้ เสือชีต้าหดซ่อนเล็บไว้ในอุ้งเล็บไม่ได้ นอกจากตอนอายุน้อยไม่เกิน 15 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงนี้ หนังหุ้มเจริญตัวดีมาก หลังจากนั้น หนังหุ้มจะหดหายไป เป็นเสือวิ่งเร็วที่สุดในช่วงสั้น อุ้งเท้าเล็บแคบกว่าเสือชนิดอื่น

ถิ่นกำเนิด

เสือชีตาห์พบในทวีปแอฟริกาตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา บริเวณทุ่งหญ้าในตะวันออก และตอนใต้ของแอฟริกา นอกจากนี้ยังพบในอินเดีย บางส่วนของอิหร่านและอัฟกานิสถานเสือชีตาห์มีชนิดย่อยทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่

ถิ่นอาศัยและการล่าเหยื่อ

อาศัยอยู่ตามลำพัง ตัวผู้ที่เป็นพี่น้องกันจะรวมกลุ่มกันอยู่ และมีอาณาเขตร่วมกัน เสือชีตาห์เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลก สามารถทำความเร็วได้ถึง 80 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่มันจะวิ่งได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น อาหารของมัน ได้แก่ กวางขนาดเล็ก เสือชีตาห์สามารถฝึกให้เชื่องได้ง่าย ในสมัยโบราณมักถูกนำมาฝึกให้ล่าสัตว์ ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ปีนต้นไม้ไม่เก่ง แต่กระโดดได้สูงถึง 4.5 เมตร ใช้การถ่ายปัสสาวะเป็นเครื่องกำหนดอาณาเขตของมัน ชอบล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยซ่อนตัวบนที่สูงกว่าเหยื่อ เมื่อพบเหยื่อจะหมอบคลานเข้าไปหาและจะอยู่ใต้ลม พอเข้าใกล้เหยื่อ จะใช้เท้าหน้าตะบบให้เหยื่อล้มลงแล้วกัดที่คอ ชอบกินเลือดสด ๆ และเครื่องใน มีตับ ไต หัวใจ และจมูก ลิ้น ตา เนื้อที่หัวซี่โครงและขา นอกนั้นไม่ค่อยกิน มันไม่ลากซากไปกินและไม่หวนกลับมากินซากเดิมอีก ซากเน่าปกติไม่กิน นอกจากหิวจัดจริง ๆปกติเหยื่อขนาดปานกลาง เช่น แอนติโลป พวกกาเซลล์อิมพาล่า วิเตอร์บัค แต่เหยื่อขนาดใหญ่ เช่น ม้าลาย คูได ก็ล่าได้ นอกจากนี้ก็ล่า พวกกระต่ายป่า สัตว์แทะ นก รวมทั้งแพะ แกะด้วย กินทั้งหนังและขนของเหยื่อ อาหารแร่ธาตุและไวตามินส์เป็นสิ่งสำคัญของเสือชนิดนี้

การสืบสายพันธุ์

ท้องนาน 90 – 95 วัน ตกลูกครั้งละ 1 – 8 ตัว ลูกลืมตาได้เมื่ออายุ 8 – 11 วัน ตามองเห็นเมื่ออายุ 20 วัน กินอาหารแข็งได้เมื่ออายุ 3 สัปดาห์ไปแล้ว และหย่านมเมื่อ อายุ 10 สัปดาห์ไปแล้ว ลูกมักจะตายมากในช่วง 8 เดือนแรก ตัวเมียเป็นสาวผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 2 ปี ศัตรูของลูกเสือชีตาห์ คือ สิงโต เสือดาว ไฮยีน่า และหมาป่าการเลี้ยงเสือชีตาห์มีผู้แนะนำให้แยกตัวผู้และตัวเมียไว้ต่างหาก ให้นำมารวมกันเฉพาะระยะผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กันแล้วมันคงอยู่ด้วยกันอีกนานไม่แยกจากกันทันทีเหมือนสัตว์อื่นบางชนิด เคยพบพ่อช่วยเลี้ยงลูกอ่อนด้วย แต่ก็มีรายงานพ่อและแม่กินลูก เหมือนกัน โดยเฉพาะแม่เสือสาวมักไม่ค่อยรับลูกและไม่ยอมให้ลูกกินนม การพยายามแยกลูกมาเลี้ยงเอง ยังไม่มีใครทำสำเร็จ

เสือโคร่ง (Panthera tigris)

เสือโคร่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Panthera tigris

ขนาด   หัวถึงลำตัว   168 – 227 เซนติเมตร

           หาง              94 – 118 เซนติเมตร              

           น้ำหนัก        180 – 245 กิโลกรัม

รูปร่างลักษณะ เสือโคร่งเป็นเสือขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเสือ ลำตัวมีสีเทาแกมเหลืองหรือน้ำตาลอมเหลือง แต่ละตัวจะมีลายแถบปรากฎบนหลังและด้านข้างของลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คาง และคอ เป็นสีขาว ขนเหนือตาสีขาวและมีแถบสีดำ หางมีแถบดำเป็นบั้งๆ ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ไม่เคยมีรายงานเสือโคร่งดำ แต่มีรายงานเสือโคร่งเผือก เสือโคร่งตัวผู้ขนาดใหญ่อาจมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่ มีการกระจายจากแถบไซบีเรียถึงทะเลสาบแคสเปียน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา และแถบบาหลี แต่ไม่เคยมีรายงานการพบเสือโคร่งบนเกาะบอร์เนียว

พฤติกรรม เสือโคร่งชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำหรือที่มีร่มเงาให้หลบแสงแดด เพราะมันไม่ชอบอากาศร้อน เสือโคร่งจึงมักอาศัยในป่าทึบอากาศเย็นและใช้พักผ่อนได้ในเวลากลางวัน เสือโคร่งชอบอาบน้ำและว่ายน้ำ ในวันที่มีอากาศร้อน เสือโคร่งใช้เวลาหลายชั่วโมงในแอ่งน้ำ เสือโคร่งไม่ชอบปีนต้นไม้  แต่ก็ปีนได้ ถ้าจำเป็น          เสือโคร่งออกล่าเหยื่อตอนเย็นและล่าทุกอย่างที่กินได้ ตั้งแต่ปลา เต่า เม่น หรือแม้แต่เสือโคร่งด้วยกันเอง ในประเทศไทย เสือโคร่งชอบล่าหมูป่าและกวางเป็นอาหาร เสือโคร่งจะไล่เหยื่อประมาณ 10-20 เมตรแล้วจึงเข้าตะครุบเหยื่อจากทางด้านหลังหรือด้านข้าง เสือโคร่งเริ่มกินเหยื่อตรงสะโพกก่อน ตามปกติมันต้องการอาหารวันละประมาณ 6-7 กิโลกรัม         เสือโคร่งที่อายุมาก เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ถ้าเกิดได้ลองกินคนแล้วอาจติดใจ เพราะสามารถล่าและฆ่าได้ง่าย แต่ตามธรรมชาติ เสือโคร่งไม่ชอบเข้าใกล้คน          เสือโคร่งชอบอยู่สันโดษ ไม่ค่อยพบว่าอยู่เป็นคู่ ถ้าพบเป็นกลุ่มก็จะเป็นแม่เสือโคร่งและลูกๆ ในฤดูผสมพันธุ์ เสือโคร่งตัวเมียจะส่งเสียงร้องดังและบ่อย เสือโคร่งใช้เวลาตั้งครรภ์ประมาณ 100-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1- 5 ตัว แม่เสือโคร่งเลี้ยงลูกประมาณ 2 ปี โดยลูกตัวเมียจะอยู่นานกว่าลูกตัวผู้

 

>>> http://www.ubonzoo.com/wild_animals/tigris.html